กรมชลประทานติดตาม ฟลัดเวย์ มูลค่า 9,800 ล้านบาท แก้ปัญหาน้ำท่วมเมืองนครฯ ซ้ำซาก
กรมชลประทานติดตามเร่งรัดโครงการ ฟลัดเวย์ มูลค่า9,800 ล้านบาท แก้ปัญหาน้ำท่วมเมืองนครศรีธรรมราชซ้ำซาก ตามแนวทางพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 พร้อมงัด 16 แผนงานด้านอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมลดผลกระทบคนในชุมชน พร้อมเดินหน้าสร้างฟลัดเวย์ระบายน้ำพร้อมปรับปรุงคลองธรรมชาติ และสร้างประตูระบายน้ำอีก 7 แห่ง ใช้ในการควบคุมบริหารจัดการน้ำและกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง มั่นใจแล้วเสร็จภายใน 3 ปี
นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณในการดำเนินการก่อสร้างโครงการบรรเทาอุกภัยเมืองนครศรีธรรมราชอันเนื่องมากจากพระราชดำริเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2560 วงเงิน 9,580 ล้านบาท พร้อมวางเป้าให้เร่งรัดโครงการแล้วเสร็จภายใน 3ปี จากเดิม 6ปีนั้น ขณะนี้โครงการมีความก้าวหน้าไปอย่างมาก ขณะนี้มีการขุดคลองใหม่ 3 สาย ประมาณ 18 กิโลเมตร ขุดขยายคลองเดิมคือคลองวังวัว คลองหัวตรุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ ในขณะในส่วนของการจัดหาที่ดินทางกรมชลประทานได้มีการปักหลักเขตแล้ว 90 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งได้มีการเตรียมแผนแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่มีต่อพี่น้องประชาชนต่อเนื่องไปอีก 10 ปีอีกด้วย
นายชยันต์ เมืองสง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมโยธา ด้านควบคุมการก่อสร้าง กรมชลประทาน กล่าวว่า กรมชลประทานได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆต่อการดำเนินงานในโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเร่งสร้างการรับรู้และความเข้าใจของประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฯ โดยได้เข้าดำเนินการเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 และต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
นายธเนศ ดิษฐปัญญา ผอ.สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 10 กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับแผนอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม แม้โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราชฯ จะไม่ได้จัดอยู่ในประเภทและขนาดของโครงการที่ต้องจัดทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม แต่กรมชลประทานได้ตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างโครงการ จึงได้จัดสรรงบประมาณสาหรับการป้องกันแก้ไข ผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งจะดำเนินการควบคู่กับการก่อสร้างโครงการ จานวน 16 แผนงาน งบประมาณทั้งสิ้น 62.77 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี อาทิ แผนการช่วยเหลือเยียวยาให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งจะมีทั้งการจ่ายค่าชดเชยที่ดิน ทรัพย์สินให้กับราษฎรที่มีที่ดินตามแนวคลองระบาย 3 สาย ด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม
นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับราษฎรดังกล่าวด้วยเพื่อให้มีอาชีพ มีรายได้ สามารถพึ่งพาตนเอง ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แผนการอนุรักษ์และพื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ครอบคลุมพื้นที่ในลุ่มน้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ ฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำซึ่งเป็นต้นกำเนิดของคลองสายต่างๆ เช่น คลองท่าดี นอกจากนี้ยังมีการสร้างฝายเพื่อชะลอ ความเร็วของน้ำ การจัดการสิ่งกีดขวางทางน้ำเพื่อให้น้ำไหลได้สะดวก รวมทั้งการฟื้นฟูพื้นที่ปลายน้ำโดยการปลูกป่าชายเลนให้มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถเป็นแหล่งที่อาหารที่อยู่อาศัยของสัตว์น้า และป้องกันการกัด เซาะชายฝั่ง
ยังมีแผนการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร ด้วยการเข้าไปส่งเสริมแนะนำในการปลูกพืชให้เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ การปรับปรุงบารุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี แผนการติดตามเฝ้าระวังระบบนิเวศวิทยาต่างๆ ที่อาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรมการก่อสร้าง รวมทั้งยังมีแผนติดตามด้านเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช โดยจะมีการประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ทุกๆ 3 เดือน เพื่อให้การพัฒนาโครงการฯ เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด และเกิดผลกระทบน้อยที่สุด
กรมชลประทานเองได้คำนึงถึงการพัฒนาโครงการอย่างยั่งยืน จึงมีมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการในการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIMP) เพื่อดำรงไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่เอื้อประโยชน์แก่คนรุ่นต่อไป ควบคู่กับการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ภาคประชาชนพร้อมเร่งสร้างการรับรู้และความเข้าใจของประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฯอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน นายธเนศ กล่าว
สำหรับโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริโดยรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชดำริเกี่ยวกับการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายเมื่อปี 2531 ส่งผลให้พื้นที่ 16 อำเภอในจังหวัดนครศรีธรรมราชได้รับความเดือดร้อนถึง 633,787 ราย ในปี 2539 และปี 2543 ประเมินมูลค่าความเสียหายรวมเป็นเงิน 255 ล้านบาท และในปี 2554 เป็นปีที่ได้รับความเสียหายครั้งใหญ่ มีพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยจำนวน 23 อำเภอ พื้นที่การเกษตรเสียหายรวม 580,816 ไร่ ประเมินความเสียหายเป็นรวมเป็นเงิน 2,300 ล้านบาท ทำให้เกิดความเสียหายแก่พื้นที่เพาะปลูก บ้านเรือน ตลอดจนชีวิตทรัพย์สินของราษฎร และทรัพย์สินของทางราชการเป็นจำนวนมาก เนื่องจากจังหวัดตั้งอยู่ริมทะเลทางด้านอ่าวไทย มีลำน้ำธรรมชาติซึ่งเกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราชไหลผ่านตัวเมืองอยู่หลายสาย เมื่อเกิดฝนตกหนักในบริเวณเทือกเขานครศรีธรรมราชจะมีปริมาณน้ำในคลองต่าง ๆ ปริมาณมากไหลผ่านตัวเมือง แต่คลองต่าง ๆ มีขนาดเล็กลงเนื่องจากถูกบุกรุกและตื้นเขิน ทำให้น้ำระบายลงสู่ทะเลไม่ทัน จึงเกิดการไหลบ่าท่วมตัวเมืองเป็นประจำทุกปี
วัตถุประสงค์ในการก่อสร้างโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำและบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ตัวเมืองนครศรีธรรมราชและบริเวณใกล้เคียงและเพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำหรับการเกษตรกรรมริมฝั่งคลองระบายน้ำ รวมทั้งสามารถป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มเข้ามาในบริเวณพื้นที่โครงการในช่วงฤดูแล้ง โดยการดำเนินงานในภาพรวมของโครงการฯ จะมีการขุดคลองระบายน้ำสายใหม่ จำนวน 3 สาย ความยาวรวม 18.64 กิโลเมตร พร้อมอาคารประกอบ มีความสามารถในการระบายน้ำได้ 650-750 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และงานปรับปรุงคลองสายเดิม จำนวน 2 คลอง คือ คลองวังวัว ความยาว5.90 กิโลเมตร พร้อมอาคารประกอบเพื่อให้สามารถระบายน้ำได้ 850 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และคลองหัวตรุด(คลองท่าเรือ) ความยาว 11.90 กิโลเมตร พร้อมอาคารประกอบเพื่อให้สามารถระบายน้ำได้ 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ปัจจุบันได้เข้าดำเนินการเข้าปักหลักเขตชลประทานแล้วเสร็จในส่วนของคลองระบายน้ำสาย 3 ในท้องที่ของตำบลท่าเรือ และตำบลบางจาก คลองระบายน้ำหัวตรุด (ท่าเรือ) ในท้องที่ของตำบลท่าเรือ และตำบลท่าไร่ คลองระบายน้ำคลองวังวัว ในท้องที่ของตำบลช้างซ้าย และตำบลนาพรุ คลองระบายน้ำสาย 2 ในท้องที่ของตำบลนาพรุ ตำบลนาสาร และคลองระบายน้ำสาย 1 ในท้องที่ของตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม ยังคงเหลือในท้องที่ตำบลไชยมนตรี ที่ยังไม่สามารถเข้าดำเนินการได้ ข้อมูลถึงปัจจุบันมีราษฎรได้มายื่นคำร้องขอรังวัดสำรวจแปลงที่ดิน และคำขอรังวัดที่ดินเพื่อการชลประทานแล้ว จำนวน 641 แปลงและช่างรังวัดกรมที่ดินได้เข้าดำเนินการรังวัดแล้ว 173 แปลง นอกเหนือจากนี้ยังมีแผนระยะยาวคือการยกระดับพื้นถนนเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากการสร้างสถานีสูบน้ำ อีกด้วย