หน้าที่ความรับผิดชอบ ส่วนวางโครงการที่ 1

 

  • การศึกษาวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำและการชลประทานในระดับลุ่มน้ำและโครงการ โดยพิจารณาความสัมพันธ์ในเชิงศักยภาพของการใช้ทรัพยากรต่างๆ ประสานความร่วมมือทาง วิชาการกับองค์การระหว่างประเทศในการแลกเปลี่ยนความรู้
  • การจัดทำโครงการความร่วมมือทางวิชาการที่ เหมาะสมต่อการพัฒนาชลประทานและการเกษตรแบบยั่งยืน
  • การพิจารณาวางแผนการพัฒนาโครงการพัฒนาแหล่งน้ำทุกขนาดและทุกประเภท เพื่อการจัดหาน้ำสำหรับด้านเกษตรกรรมทั้งในฤดูฝนและในฤดูแล้ง
  • การจัดหาน้ำสำหรับความต้องการด้านอื่นๆ ในขั้นการดำเนินการศึกษาความเหมาะสมควบคู่ไปกับการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ เช่น การสร้างอ่างเก็บน้ำ ระบบชลประทานและการพัฒนานำน้ำใต้ดิน มาใช้ประโยชน์ เป็นต้น
  • การศึกษาพิจารณาวางโครงการเพื่อจัดทำแผนหลักแนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำของกรมชลประทานและวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำในระดับลุ่มน้ำหรือระดับภูมิภาค 
  • การศึกษาพิจารณาวางโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่เศรษฐกิจที่ได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลเป็นกรณีพิเศษ เพื่อรองรับความต้องการการใช้น้ำ ในการขยายตัว ทางภาคอุตสาหกรรมและการขยายตัวของชุมชนและอื่นๆ นอกเหนือจากความต้องการน้ำทางด้านเกษตรแต่เพียงอย่างเดียว รวมถึงการพิจารณาวางโครงการ เพื่อบรรเทาอุทกภัยโครงการระบบระบายน้ำตลอดจน การวางโครงการชลประทานระบบท่อ โดยประสานงานกับองค์กรและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำรายงานความเหมาะสมให้สอดคล้องกัน
  • การกำหนดขอบเขตและเงื่อนไขของการศึกษาในโครงการที่ว่าจ้างที่ปรึกษาตลอดจนการพิจารณาข้อเสนอทางวิชาการในขั้นตอนของการดำเนินการว่าจ้างและควบคุม กำกับ ดูแลให้คำปรึกษาทางด้านวิชาการให้ถูกต้องตามความต้องการของกรมชลประทาน
  • การติดตาม ตรวจสอบ วิเคราะห์ผลงานและประเมินหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการให้เหมาะสมกับวิทยาการสมัยใหม่จัดทำรายงาน
  • การดำเนินงานกิจกรรมพิเศษหรือเฉพาะกิจอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น โครงการศึกษาร่วม ระหว่างองค์กรและ/หรือหน่วยราชการต่างๆ และโครงการความช่วยเหลือทางวิชาการจากต่างประเทศ ประสานงานในการจัดเตรียมเอกสารและดำเนินงานการจัดประชาพิจารณ์ เพื่อเปิดโอกาสให้ราษฎรได้รับทราบข้อมูลและแสดงความคิดเห็นต่อการพัฒนาโครงการของรัฐตามรัฐธรรมนูญ
  • การศึกษาปรับปรุงโครงการขนาดกลางและขนาดใหญที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ในการพัฒนาและให้ดำเนินงานได้ตามศักยภาพของโครงการ โดยพิจารณาศึกษาแนวทางและวิธีการในปัจจุบันการดำเนินการส่งน้ำและบำรุงรักษาตามวัตถุประสงค์แ
  • การกำหนดศักยภาพสูงสุดของการดำเนินงานต่างๆ เพื่อจะได้เข้าใจถึงปัญหาและข้อจำกัดที่แท้จริงของโครงการอันจะนำมาสู่มาตรการปรับปรุงที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ ความเป็นจริง ทำให้การดำเนินการโครงการเป็นไปอย่างเต็มศักยภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
  • การศึกษาปรับปรุงจะได้พิจารณาให้โครงการที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย เช่นการใช้ข้อมูลดาวเทียม การใช้แบบจำลอง